ข้อสอบกลางภาค นายวชิรา ธีรนันทน์

ภาพบรรยากาศตลาดย้อนยุค

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา


ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา คือ ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา การพัฒนา และการประยุกต์วัสดุ เครื่องมือ วิธีการ เพื่อนำมาใช้ในสถานการณ์การเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้นเทคโนโลยี แบ่ง ได้เป็น 2 ประการ ดังนี้

1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ หมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์โทรทัศน์ ฯลฯมาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่

2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ หมายถึง การนำวิธีการทางจิตวิทยา มานุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษาการสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะเน้นเรื่องเทคนิคที่เป็นวิธีการ และกระบวนการเรียนการสอนมากกว่าวัสดุ และเครื่องมือhttp://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page01005.asp


ลักษณะของนวัตกรรมสิ่งที่ต้องจัดว่าเป็นนวัตกรรม ควรประกอบด้วยลักษณะ ดังนี้
1. จะต้องเป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ (creative) และเป็นความคิดที่สามารถปฏิบัติได้ (Feasible ideas)
2. จะต้องสามารถนำไปใช้ได้ผลจริงจัง (practical application)3. มีการแพร่ออกไปสู่ชุมชน (diffusion through)

แนวคิดในการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษากับการศึกษาไทย มี 3 ประการ
1.คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง
2.คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าสิ่งแวดล้อม
3.คนไทยส่วนใหญ่ขาดลักษณะที่พึงประสงค์ตามลักษณะสังคมไทย
สาเหตุที่นำเอาเทคโนโลยีนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาเนื่องจากการเพิ่มจำนวนประชากร การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม และความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ๆนวัตกรรมทางการศึกษาหมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่ส่งเสริมกระบวนการทางการส฿กษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น การสอนแบบโปรแกรม ศูนย์การเรียน เป็นต้นแนวคิดในการเพิ่มคุณค่าของเทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้คือ ใช้เทคโนโลยีพัฒนากระบวนการทางปัญญาพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาที่มา เอกสารประกอบการสอน อ.มงคล ภวังค์คนันท์ อาจารย์ประจำโปรแกรมเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ราชบุรี


นวัตกรรมการศึกษา

คือ กระบวนการใหม่ ๆ ทางด้านการศึกษา อาทิ วิธีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรใหม่ วิธีการเรียนการสอนที่เป็น Program เป็น Module มีลักษณะการเรียนการสอนคล้ายกับต่างประเทศ เป็นโปรแกรม ที่สามารถเปิดการเรียนได้ทันที ไม่ต้องขอตามระบบตามขั้นเหมือนระบบราชการของเรา หลักสูตรที่เปิดสอนมีขึ้นตามความต้องการของตลาด อีกประการหนึ่งคือเกี่ยวข้องกับ Area ใหม่ ๆ ที่สำคัญกับประเทศ ที่เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาhttp://learners.in.th/blog/joy30/5803


ความหมายนวัตกรรมคำว่า "นวัตกรรม" หรือ นวกรรม มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Innovation" โดยคำว่า นวัตกรรม มีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว+อตต+กรรม กล่าวคือ นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรม แปลว่า การกระทำ เมื่อรวมคำ นว มาสนธิกับ อัตต จึงเป็น นวัตต และ เมื่อรวมคำ นวัตต มาสมาส กับ กรรม จึงเป็นคำว่า นวัตกรรม แปลตามรากศัพท์เดิมว่า การกระทำที่ใหม่ของตนเอง หรือ การกระทำของตนเองที่ใหม่ (เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต, 2528)ส่วนคำว่า "นวกรรม" ที่มีใช้กันมาแต่เดิม มีรากศัพท์เดิมมาจากคำว่า นว แปลว่า ใหม่ กรรม แปลว่า การกระทำ จึงแปลตามรูปศัพท์เดิมว่าเป็นการปฏิบัติหรือการกระทำใหม่ๆ ในความหมายโดยทั่วไปแล้วสิ่งใหม่ๆ อาจหมายถึงความคิด วิธีปฏิบัติ วัตถุหรือสิ่งของที่ใหม่ ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน คำว่านวัตกรรมนี้อาจมีผู้ใช้คำอื่นๆ อีก เช่น นวัตกรรม ความจริงแล้วก็เป็นคำ ๆ เดียวกันนั่นเองHughes (1971)อธิบายว่า นวัตกรรม เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. การคิดค้น (invention)

2. การพัฒนา (Development)

3. นำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา


กล่าวโดยสรุป นวัตกรรมการศึกษาเกิดขึ้นตามสาเหตุใหม่ ๆ ดังต่อไปนี้1.การเพิ่มปริมาณของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศกษาและมัธยมศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อให้สามารถสอนนักเรียนได้มากขึ้น2. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว การเรียนการสอนจึงต้องตอบสนองการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรู้ได้มากในเวลาจำกัดนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้3. การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นวัตกรรมการศึกษาสามารถช่วยตอบสนองการเรียนรู้ตามอัตภาพ ตามความสามารถของแต่ละคน เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน Computer Assisted Instruction หรือ CAI การเรียนแบบศูนย์การเรียน เป็นต้น4 .ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ส่วนผลักดันให้มีการใช้นวัตกรรมการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ในการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้ ที่เรียกว่า "Web-based learning" ทำให้สามารถเรียนรู้ในทุกที่ทุกเวลาสำหรับทุกคน (Any where, Any time for Everyone)

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การฟังดนตรีในรูปแบบวงโยธวาทิต



การฟังดนตรีให้ได้อรรถรสโดยทั่วไปนั้น เริ่มแรกผู้ฟังต้องปราศจากอคติกับบทเพลงและผู้บรรเลงเสียก่อน จึงจะสามารถเปิดหู เปิดใจ รับเสียงที่ส่งมาได้อย่างครบถ้วน ถัดมาผู้ฟังควรมีความรู้ในดนตรีที่ฟังอย่างน้อยในขั้นพื้นฐาน เพื่อที่จะได้เข้าถึงและดื่มด่ำกับสุนทรียภาพทางดนตรีได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น การทำความเข้าใจดนตรีนั้นก็เปรียบเสมือนการทำความรู้จักกับคน ๆ หนึ่ง ที่เราจะต้องทราบถึง ประวัติ สไตล์การแต่งตัว สิ่งที่ชอบหรือไม่ชอบ ฯลฯ ของคน ๆ นั้น ดนตรีก็เช่นกันกล่าวคือ ดนตรีเองก็มีประวัติ มีการกำเนิด การสูญหาย มีรูปแบบการจัดวง การบรรเลง มีข้อห้ามข้อควรปฏิบัติ แตกต่างออกไปในแต่ละยุคสมัย เช่นเดียวกับชีวประวัติของคน ดังนั้นการเรียนรู้ถึงสิ่งเหล่านี้จะทำให้เรารู้สึกสนิทสนมกับดนตรี ทำให้เกิดความสนุกสนาน และซาบซึ้งไปกับบทเพลงที่ได้รับฟังมากยิ่งขึ้น ก็เหมือนกับการฟังเรื่องเล่าของคนที่เรารู้จักสนิทสนม เรื่องที่ฟังดังกล่าวก็จะสนุกสนานกว่าการฟังจากคนที่เราไม่รู้จักนั่นเอง

สำหรับการฟังดนตรีในรูปแบบของวงโยธวาทิตนั้นสิ่งที่ผู้ฟังต้องเตรียมตัว คือ

1. ควรตรวจสอบโปรแกรมการแสดงให้แน่นอนว่าเป็นการแสดงในรูปแบบใด เพื่อให้เกิดสมาธิในการฟังและลดอคติก่อนฟังเพลง อย่างที่ทราบกันแล้วว่าวงโยธวาทิตสามารถรวมวงได้หลายแบบ ทั้งในแบบนั่งบรรเลง (Concert) เดินสวนสนาม (Marching Band) หรือ แบบโชว์กลางแจ้ง (Display) และเพลงที่นำมาบรรเลงก็มีหลากหลาย การทราบโปรแกรมการแสดงล่วงหน้าจะทำให้ผู้ฟังได้ทราบว่าการแสดงที่จะไปรับฟังนั้นเป็นแบบที่สนใจฟังหรือไม่ เพราะการฟังเพลงให้ได้ความสุนทรีย์อย่างเต็มเปี่ยมกลับไปนั้น ผู้ฟังต้องฟังอย่างมีสมาธิ มีสภาพจิตใจและอารมณ์สงบนิ่ง เรียกการฟังแบบนี้ว่า การฟังโดยรับรู้ความซาบซึ้ง (Perceptive Listening) ผู้ฟังจึงจะได้รับความงามขององค์ประกอบต่าง ๆ ของเสียงดนตรีได้อย่างครบถ้วน แต่ถ้าผู้ฟังได้รับฟังเสียงดนตรีที่ตนไม่ชอบหรือไม่สนใจ คงเป็นไปได้ยากที่จะมีสมาธิในการฟัง ซึ่งการฟังเช่นนี้คงเป็นได้แค่การฟังแบบผ่านหู (Passive Listening) ไปเท่านั้น และยิ่งถ้าผู้ฟังมีอคติกับบทเพลงหรือผู้บรรเลงด้วยแล้วนั้น ดนตรีที่ท่านได้รับฟังจะไม่สามารถสร้างความสุขให้กับท่านได้เลย

2. ควรมีความทางด้านดนตรีอย่างน้อยในขั้นพื้นฐาน และควรหาข้อมูลที่เกี่ยวกับเพลงที่จะไปฟัง อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าการทำความรู้จักนั้นจะทำให้การฟังรู้สึกสนุกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการรับฟังวงโยธวาทิตในรูปแบบการนั่งบรรเลง (Concert) ซึ่งเพลงที่วงโยธวาทิตนำมาบรรเลงนั้นเป็นเพลงที่มีสีสันของเสียง การเคลื่อนไหวของทำนอง จังหวะ การสอดประสานแนวดนตรีที่ปรุงแต่งขึ้นมาอย่างมีศิลปะและซับซ้อน การทำความเข้าใจในดนตรีขั้นพื้นฐานหรือทำความเข้าใจกับบทเพลงที่จะรับฟัง เช่น การทราบประวัติเพลง ชื่อผู้ประพันธ์ ประวัติผู้ประพันธ์ หรือ สไตล์ของบทประพันธ์ ฯลฯ ไว้บ้างจะทำให้ผู้ฟังได้เห็นมิติทางดนตรีที่มากขึ้น เพราะเมื่อเรามีความรู้ เราก็จะเข้าใจในสิ่งที่ผู้ประพันธ์เพลงและผู้บรรเลงต้องการสื่อความหมาย ซึ่งนั่นเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราเกิดอารมณ์ร่วมและง่ายต่อการเข้าถึงความงดงามของดนตรีได้อย่างลึกซึ้ง

3. อย่าบังคับให้ตนเองรับรู้และจินตนาการถึงเสียงดนตรีตามอย่างที่อ่านมา หรือ ฟังจากคนอื่นมา เนื่องจากดนตรีเป็นศิลปะ เป็นจินตนาการส่วนตัวไม่มีถูกหรือผิด ในเพลงเดียวกันแต่ละคนอาจตีความหมายหรือ เห็นภาพต่างกันได้ ข้อมูลของเพลงเป็นเพียงสิ่งที่ผู้ประพันธ์ต้องการบอกให้ผู้ฟังรับทราบถึงแนวความคิด หรือ ตัวจุดประกายจินตนาการของตนเองเท่านั้น แต่ไม่ใช่การชี้นำให้ทุกคนคิดตาม หรือครอบงำจินตนาการของผู้ฟัง ดังนั้นไม่ว่าสิ่งที่ฟังจะให้ความหมาย อารมณ์ความรู้สึกและจินตนาการแก่คุณแตกต่างกับผู้อื่นเพียงใดก็ไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับการตำหนิหรือถูกประนามว่าแตกต่างหรือแปลกแยก เพราะดนตรีเป็นเรื่องของตัวบุคคล เป็นเรื่องของอารมณ์ซึ่งไม่มีเกณฑ์วัด เพลง ๆ เดียวกัน แต่เมี่อฟังในอารมณ์ที่ต่างกัน สถานที่ต่างกัน ผู้บรรเลงต่างกัน อรรถรส ความซาบซึ้งที่ได้ก็จะต่างกัน เพราะฉะนั้นผู้ฟังที่ดีควรรู้จักฟังเพื่อเปรียบเทียบและฟังเพื่อรับความซาบซึ้งจากภายในของตนเองอย่างแท้จริงและไม่มีสิ่งใดเจือปน

4. ควรรักษามารยาทในการเป็นผู้ฟังที่ดี การเข้าชมการบรรเลงเพลงที่ดีนั้นควรปฏิบัติดังนี้
4.1 สำหรับการฟังวงโยธวาทิตในรูปแบบของการนั่งบรรเลงนั้นผู้ฟังควรเข้าประจำที่นั่งของตนก่อนเวลาการแสดงจะเริ่มประมาณ 10- 15 นาที รวมทั้งการเข้าหลังช่วงพักครึ่งเพื่อพักนักดนตรีด้วยที่ควรเข้าก่อนเวลาการแสดงหลังช่วงพักเริ่ม ที่สำคัญไม่ควรเข้าระหว่างการบรรเลง หากมีความจำเป็นควรรอให้เพลงที่บรรเลงจบก่อน หรือรอช่วงพักจึงเดินเข้า เพื่อไม่เป็นการขัดจังหวะการซาบซึ้งในบทเพลงของผู้ฟังท่านอื่น

4.2 ควรปรบมือแก่ผู้บรรเลงหลังเพลงบรรเลงจบทุกครั้ง ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่ไม่มีข้อมูลของเพลงในโปรแกรมการแสดง บางเพลงมีหลายท่อน และเมื่อผู้บรรเลงเล่นจบแต่ละท่อนจะเว้นช่วงระยะหนึ่งแล้วจึงขึ้นท่อนต่อไป ดังนั้นต้องระวังการปรบมือให้ดีไม่เช่นนั้นจะเกิดการเสียหน้าได้

4.3 สำหรับการฟังวงโยธวาทิตในรูปแบบอื่น ๆ ทั้งแบบสวนสนาม (Marching Band) และ แบบโชว์กลางแจ้ง (Display) มารยาทที่ดีคือไม่ตะโกน โห่ร้องเสมือนเชียร์กีฬา ควรตั้งใจดูความสวยงามของการเดินแถว การแปรขบวน เนื่องจากการบรรเลงเพลงในลักษณะนี้จะบรรเลงกลางแจ้ง พื้นที่โล่งกว้าง หากไม่ตั้งใจฟังมีแต่เสียงโหวกเหวก อึกทึก ท่อนเพลงที่เบาก็จะไม่สามารถได้ยิน ทำให้ขาดอรรถรสของดนตรีไป และเป็นการเสียมารยาทต่อผู้บรรเลงด้วย

การฟังดนตรีในรูปแบบวงโยธวาทิตนั้น ผู้ฟังควรมีความรู้เกี่ยวกับเพลงที่ฟัง ไม่ควรมีอคติใด ๆ กับผู้บรรเลงและบทเพลงที่ฟัง และควรฟังอย่างตั้งใจ มีสมาธิ ทำจิตใจและอารมณ์ให้ว่างไม่ฟุ้งซ่านเพื่อพร้อมรับจินตนาการจากบทเพลงที่ฟัง ที่สำคัญที่สุดควรมีมารยาททั้งต่อผู้บรรเลง และผู้ฟังคนอื่น ๆ แล้วท่านจะได้รับความสุขกลับไปจากการฟังดนตรีอย่างแน่นอน