การฟังดนตรีให้ได้อรรถรสโดยทั่วไปนั้น เริ่มแรกผู้ฟังต้องปราศจากอคติกับบทเพลงและผู้บรรเลงเสียก่อน จึงจะสามารถเปิดหู เปิดใจ รับเสียงที่ส่งมาได้อย่างครบถ้วน ถัดมาผู้ฟังควรมีความรู้ในดนตรีที่ฟังอย่างน้อยในขั้นพื้นฐาน เพื่อที่จะได้เข้าถึงและดื่มด่ำกับสุนทรียภาพทางดนตรีได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น การทำความเข้าใจดนตรีนั้นก็เปรียบเสมือนการทำความรู้จักกับคน ๆ หนึ่ง ที่เราจะต้องทราบถึง ประวัติ สไตล์การแต่งตัว สิ่งที่ชอบหรือไม่ชอบ ฯลฯ ของคน ๆ นั้น ดนตรีก็เช่นกันกล่าวคือ ดนตรีเองก็มีประวัติ มีการกำเนิด การสูญหาย มีรูปแบบการจัดวง การบรรเลง มีข้อห้ามข้อควรปฏิบัติ แตกต่างออกไปในแต่ละยุคสมัย เช่นเดียวกับชีวประวัติของคน ดังนั้นการเรียนรู้ถึงสิ่งเหล่านี้จะทำให้เรารู้สึกสนิทสนมกับดนตรี ทำให้เกิดความสนุกสนาน และซาบซึ้งไปกับบทเพลงที่ได้รับฟังมากยิ่งขึ้น ก็เหมือนกับการฟังเรื่องเล่าของคนที่เรารู้จักสนิทสนม เรื่องที่ฟังดังกล่าวก็จะสนุกสนานกว่าการฟังจากคนที่เราไม่รู้จักนั่นเอง
สำหรับการฟังดนตรีในรูปแบบของวงโยธวาทิตนั้นสิ่งที่ผู้ฟังต้องเตรียมตัว คือ
1. ควรตรวจสอบโปรแกรมการแสดงให้แน่นอนว่าเป็นการแสดงในรูปแบบใด เพื่อให้เกิดสมาธิในการฟังและลดอคติก่อนฟังเพลง อย่างที่ทราบกันแล้วว่าวงโยธวาทิตสามารถรวมวงได้หลายแบบ ทั้งในแบบนั่งบรรเลง (Concert) เดินสวนสนาม (Marching Band) หรือ แบบโชว์กลางแจ้ง (Display) และเพลงที่นำมาบรรเลงก็มีหลากหลาย การทราบโปรแกรมการแสดงล่วงหน้าจะทำให้ผู้ฟังได้ทราบว่าการแสดงที่จะไปรับฟังนั้นเป็นแบบที่สนใจฟังหรือไม่ เพราะการฟังเพลงให้ได้ความสุนทรีย์อย่างเต็มเปี่ยมกลับไปนั้น ผู้ฟังต้องฟังอย่างมีสมาธิ มีสภาพจิตใจและอารมณ์สงบนิ่ง เรียกการฟังแบบนี้ว่า การฟังโดยรับรู้ความซาบซึ้ง (Perceptive Listening) ผู้ฟังจึงจะได้รับความงามขององค์ประกอบต่าง ๆ ของเสียงดนตรีได้อย่างครบถ้วน แต่ถ้าผู้ฟังได้รับฟังเสียงดนตรีที่ตนไม่ชอบหรือไม่สนใจ คงเป็นไปได้ยากที่จะมีสมาธิในการฟัง ซึ่งการฟังเช่นนี้คงเป็นได้แค่การฟังแบบผ่านหู (Passive Listening) ไปเท่านั้น และยิ่งถ้าผู้ฟังมีอคติกับบทเพลงหรือผู้บรรเลงด้วยแล้วนั้น ดนตรีที่ท่านได้รับฟังจะไม่สามารถสร้างความสุขให้กับท่านได้เลย
2. ควรมีความทางด้านดนตรีอย่างน้อยในขั้นพื้นฐาน และควรหาข้อมูลที่เกี่ยวกับเพลงที่จะไปฟัง อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าการทำความรู้จักนั้นจะทำให้การฟังรู้สึกสนุกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการรับฟังวงโยธวาทิตในรูปแบบการนั่งบรรเลง (Concert) ซึ่งเพลงที่วงโยธวาทิตนำมาบรรเลงนั้นเป็นเพลงที่มีสีสันของเสียง การเคลื่อนไหวของทำนอง จังหวะ การสอดประสานแนวดนตรีที่ปรุงแต่งขึ้นมาอย่างมีศิลปะและซับซ้อน การทำความเข้าใจในดนตรีขั้นพื้นฐานหรือทำความเข้าใจกับบทเพลงที่จะรับฟัง เช่น การทราบประวัติเพลง ชื่อผู้ประพันธ์ ประวัติผู้ประพันธ์ หรือ สไตล์ของบทประพันธ์ ฯลฯ ไว้บ้างจะทำให้ผู้ฟังได้เห็นมิติทางดนตรีที่มากขึ้น เพราะเมื่อเรามีความรู้ เราก็จะเข้าใจในสิ่งที่ผู้ประพันธ์เพลงและผู้บรรเลงต้องการสื่อความหมาย ซึ่งนั่นเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราเกิดอารมณ์ร่วมและง่ายต่อการเข้าถึงความงดงามของดนตรีได้อย่างลึกซึ้ง
3. อย่าบังคับให้ตนเองรับรู้และจินตนาการถึงเสียงดนตรีตามอย่างที่อ่านมา หรือ ฟังจากคนอื่นมา เนื่องจากดนตรีเป็นศิลปะ เป็นจินตนาการส่วนตัวไม่มีถูกหรือผิด ในเพลงเดียวกันแต่ละคนอาจตีความหมายหรือ เห็นภาพต่างกันได้ ข้อมูลของเพลงเป็นเพียงสิ่งที่ผู้ประพันธ์ต้องการบอกให้ผู้ฟังรับทราบถึงแนวความคิด หรือ ตัวจุดประกายจินตนาการของตนเองเท่านั้น แต่ไม่ใช่การชี้นำให้ทุกคนคิดตาม หรือครอบงำจินตนาการของผู้ฟัง ดังนั้นไม่ว่าสิ่งที่ฟังจะให้ความหมาย อารมณ์ความรู้สึกและจินตนาการแก่คุณแตกต่างกับผู้อื่นเพียงใดก็ไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับการตำหนิหรือถูกประนามว่าแตกต่างหรือแปลกแยก เพราะดนตรีเป็นเรื่องของตัวบุคคล เป็นเรื่องของอารมณ์ซึ่งไม่มีเกณฑ์วัด เพลง ๆ เดียวกัน แต่เมี่อฟังในอารมณ์ที่ต่างกัน สถานที่ต่างกัน ผู้บรรเลงต่างกัน อรรถรส ความซาบซึ้งที่ได้ก็จะต่างกัน เพราะฉะนั้นผู้ฟังที่ดีควรรู้จักฟังเพื่อเปรียบเทียบและฟังเพื่อรับความซาบซึ้งจากภายในของตนเองอย่างแท้จริงและไม่มีสิ่งใดเจือปน
4. ควรรักษามารยาทในการเป็นผู้ฟังที่ดี การเข้าชมการบรรเลงเพลงที่ดีนั้นควรปฏิบัติดังนี้
4.1 สำหรับการฟังวงโยธวาทิตในรูปแบบของการนั่งบรรเลงนั้นผู้ฟังควรเข้าประจำที่นั่งของตนก่อนเวลาการแสดงจะเริ่มประมาณ 10- 15 นาที รวมทั้งการเข้าหลังช่วงพักครึ่งเพื่อพักนักดนตรีด้วยที่ควรเข้าก่อนเวลาการแสดงหลังช่วงพักเริ่ม ที่สำคัญไม่ควรเข้าระหว่างการบรรเลง หากมีความจำเป็นควรรอให้เพลงที่บรรเลงจบก่อน หรือรอช่วงพักจึงเดินเข้า เพื่อไม่เป็นการขัดจังหวะการซาบซึ้งในบทเพลงของผู้ฟังท่านอื่น
4.2 ควรปรบมือแก่ผู้บรรเลงหลังเพลงบรรเลงจบทุกครั้ง ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่ไม่มีข้อมูลของเพลงในโปรแกรมการแสดง บางเพลงมีหลายท่อน และเมื่อผู้บรรเลงเล่นจบแต่ละท่อนจะเว้นช่วงระยะหนึ่งแล้วจึงขึ้นท่อนต่อไป ดังนั้นต้องระวังการปรบมือให้ดีไม่เช่นนั้นจะเกิดการเสียหน้าได้
4.3 สำหรับการฟังวงโยธวาทิตในรูปแบบอื่น ๆ ทั้งแบบสวนสนาม (Marching Band) และ แบบโชว์กลางแจ้ง (Display) มารยาทที่ดีคือไม่ตะโกน โห่ร้องเสมือนเชียร์กีฬา ควรตั้งใจดูความสวยงามของการเดินแถว การแปรขบวน เนื่องจากการบรรเลงเพลงในลักษณะนี้จะบรรเลงกลางแจ้ง พื้นที่โล่งกว้าง หากไม่ตั้งใจฟังมีแต่เสียงโหวกเหวก อึกทึก ท่อนเพลงที่เบาก็จะไม่สามารถได้ยิน ทำให้ขาดอรรถรสของดนตรีไป และเป็นการเสียมารยาทต่อผู้บรรเลงด้วย
การฟังดนตรีในรูปแบบวงโยธวาทิตนั้น ผู้ฟังควรมีความรู้เกี่ยวกับเพลงที่ฟัง ไม่ควรมีอคติใด ๆ กับผู้บรรเลงและบทเพลงที่ฟัง และควรฟังอย่างตั้งใจ มีสมาธิ ทำจิตใจและอารมณ์ให้ว่างไม่ฟุ้งซ่านเพื่อพร้อมรับจินตนาการจากบทเพลงที่ฟัง ที่สำคัญที่สุดควรมีมารยาททั้งต่อผู้บรรเลง และผู้ฟังคนอื่น ๆ แล้วท่านจะได้รับความสุขกลับไปจากการฟังดนตรีอย่างแน่นอน
สำหรับการฟังดนตรีในรูปแบบของวงโยธวาทิตนั้นสิ่งที่ผู้ฟังต้องเตรียมตัว คือ
1. ควรตรวจสอบโปรแกรมการแสดงให้แน่นอนว่าเป็นการแสดงในรูปแบบใด เพื่อให้เกิดสมาธิในการฟังและลดอคติก่อนฟังเพลง อย่างที่ทราบกันแล้วว่าวงโยธวาทิตสามารถรวมวงได้หลายแบบ ทั้งในแบบนั่งบรรเลง (Concert) เดินสวนสนาม (Marching Band) หรือ แบบโชว์กลางแจ้ง (Display) และเพลงที่นำมาบรรเลงก็มีหลากหลาย การทราบโปรแกรมการแสดงล่วงหน้าจะทำให้ผู้ฟังได้ทราบว่าการแสดงที่จะไปรับฟังนั้นเป็นแบบที่สนใจฟังหรือไม่ เพราะการฟังเพลงให้ได้ความสุนทรีย์อย่างเต็มเปี่ยมกลับไปนั้น ผู้ฟังต้องฟังอย่างมีสมาธิ มีสภาพจิตใจและอารมณ์สงบนิ่ง เรียกการฟังแบบนี้ว่า การฟังโดยรับรู้ความซาบซึ้ง (Perceptive Listening) ผู้ฟังจึงจะได้รับความงามขององค์ประกอบต่าง ๆ ของเสียงดนตรีได้อย่างครบถ้วน แต่ถ้าผู้ฟังได้รับฟังเสียงดนตรีที่ตนไม่ชอบหรือไม่สนใจ คงเป็นไปได้ยากที่จะมีสมาธิในการฟัง ซึ่งการฟังเช่นนี้คงเป็นได้แค่การฟังแบบผ่านหู (Passive Listening) ไปเท่านั้น และยิ่งถ้าผู้ฟังมีอคติกับบทเพลงหรือผู้บรรเลงด้วยแล้วนั้น ดนตรีที่ท่านได้รับฟังจะไม่สามารถสร้างความสุขให้กับท่านได้เลย
2. ควรมีความทางด้านดนตรีอย่างน้อยในขั้นพื้นฐาน และควรหาข้อมูลที่เกี่ยวกับเพลงที่จะไปฟัง อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าการทำความรู้จักนั้นจะทำให้การฟังรู้สึกสนุกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการรับฟังวงโยธวาทิตในรูปแบบการนั่งบรรเลง (Concert) ซึ่งเพลงที่วงโยธวาทิตนำมาบรรเลงนั้นเป็นเพลงที่มีสีสันของเสียง การเคลื่อนไหวของทำนอง จังหวะ การสอดประสานแนวดนตรีที่ปรุงแต่งขึ้นมาอย่างมีศิลปะและซับซ้อน การทำความเข้าใจในดนตรีขั้นพื้นฐานหรือทำความเข้าใจกับบทเพลงที่จะรับฟัง เช่น การทราบประวัติเพลง ชื่อผู้ประพันธ์ ประวัติผู้ประพันธ์ หรือ สไตล์ของบทประพันธ์ ฯลฯ ไว้บ้างจะทำให้ผู้ฟังได้เห็นมิติทางดนตรีที่มากขึ้น เพราะเมื่อเรามีความรู้ เราก็จะเข้าใจในสิ่งที่ผู้ประพันธ์เพลงและผู้บรรเลงต้องการสื่อความหมาย ซึ่งนั่นเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราเกิดอารมณ์ร่วมและง่ายต่อการเข้าถึงความงดงามของดนตรีได้อย่างลึกซึ้ง
3. อย่าบังคับให้ตนเองรับรู้และจินตนาการถึงเสียงดนตรีตามอย่างที่อ่านมา หรือ ฟังจากคนอื่นมา เนื่องจากดนตรีเป็นศิลปะ เป็นจินตนาการส่วนตัวไม่มีถูกหรือผิด ในเพลงเดียวกันแต่ละคนอาจตีความหมายหรือ เห็นภาพต่างกันได้ ข้อมูลของเพลงเป็นเพียงสิ่งที่ผู้ประพันธ์ต้องการบอกให้ผู้ฟังรับทราบถึงแนวความคิด หรือ ตัวจุดประกายจินตนาการของตนเองเท่านั้น แต่ไม่ใช่การชี้นำให้ทุกคนคิดตาม หรือครอบงำจินตนาการของผู้ฟัง ดังนั้นไม่ว่าสิ่งที่ฟังจะให้ความหมาย อารมณ์ความรู้สึกและจินตนาการแก่คุณแตกต่างกับผู้อื่นเพียงใดก็ไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับการตำหนิหรือถูกประนามว่าแตกต่างหรือแปลกแยก เพราะดนตรีเป็นเรื่องของตัวบุคคล เป็นเรื่องของอารมณ์ซึ่งไม่มีเกณฑ์วัด เพลง ๆ เดียวกัน แต่เมี่อฟังในอารมณ์ที่ต่างกัน สถานที่ต่างกัน ผู้บรรเลงต่างกัน อรรถรส ความซาบซึ้งที่ได้ก็จะต่างกัน เพราะฉะนั้นผู้ฟังที่ดีควรรู้จักฟังเพื่อเปรียบเทียบและฟังเพื่อรับความซาบซึ้งจากภายในของตนเองอย่างแท้จริงและไม่มีสิ่งใดเจือปน
4. ควรรักษามารยาทในการเป็นผู้ฟังที่ดี การเข้าชมการบรรเลงเพลงที่ดีนั้นควรปฏิบัติดังนี้
4.1 สำหรับการฟังวงโยธวาทิตในรูปแบบของการนั่งบรรเลงนั้นผู้ฟังควรเข้าประจำที่นั่งของตนก่อนเวลาการแสดงจะเริ่มประมาณ 10- 15 นาที รวมทั้งการเข้าหลังช่วงพักครึ่งเพื่อพักนักดนตรีด้วยที่ควรเข้าก่อนเวลาการแสดงหลังช่วงพักเริ่ม ที่สำคัญไม่ควรเข้าระหว่างการบรรเลง หากมีความจำเป็นควรรอให้เพลงที่บรรเลงจบก่อน หรือรอช่วงพักจึงเดินเข้า เพื่อไม่เป็นการขัดจังหวะการซาบซึ้งในบทเพลงของผู้ฟังท่านอื่น
4.2 ควรปรบมือแก่ผู้บรรเลงหลังเพลงบรรเลงจบทุกครั้ง ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่ไม่มีข้อมูลของเพลงในโปรแกรมการแสดง บางเพลงมีหลายท่อน และเมื่อผู้บรรเลงเล่นจบแต่ละท่อนจะเว้นช่วงระยะหนึ่งแล้วจึงขึ้นท่อนต่อไป ดังนั้นต้องระวังการปรบมือให้ดีไม่เช่นนั้นจะเกิดการเสียหน้าได้
4.3 สำหรับการฟังวงโยธวาทิตในรูปแบบอื่น ๆ ทั้งแบบสวนสนาม (Marching Band) และ แบบโชว์กลางแจ้ง (Display) มารยาทที่ดีคือไม่ตะโกน โห่ร้องเสมือนเชียร์กีฬา ควรตั้งใจดูความสวยงามของการเดินแถว การแปรขบวน เนื่องจากการบรรเลงเพลงในลักษณะนี้จะบรรเลงกลางแจ้ง พื้นที่โล่งกว้าง หากไม่ตั้งใจฟังมีแต่เสียงโหวกเหวก อึกทึก ท่อนเพลงที่เบาก็จะไม่สามารถได้ยิน ทำให้ขาดอรรถรสของดนตรีไป และเป็นการเสียมารยาทต่อผู้บรรเลงด้วย
การฟังดนตรีในรูปแบบวงโยธวาทิตนั้น ผู้ฟังควรมีความรู้เกี่ยวกับเพลงที่ฟัง ไม่ควรมีอคติใด ๆ กับผู้บรรเลงและบทเพลงที่ฟัง และควรฟังอย่างตั้งใจ มีสมาธิ ทำจิตใจและอารมณ์ให้ว่างไม่ฟุ้งซ่านเพื่อพร้อมรับจินตนาการจากบทเพลงที่ฟัง ที่สำคัญที่สุดควรมีมารยาททั้งต่อผู้บรรเลง และผู้ฟังคนอื่น ๆ แล้วท่านจะได้รับความสุขกลับไปจากการฟังดนตรีอย่างแน่นอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น